ดอกบัวผุด

ดอกบัวผุด ( Rafflesia arnoldii )

บัวผุด (ชื่อวิทยาศาสตร์:Rafflesia kerri Meijer) เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกเถาองุ่นป่า (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ดำเน่าไป ดอกบัวผุดพบใน อำเภอพนม บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ในจังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

บัวผุดที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นสปีชีส์ของโลกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดย Dr.W.Meijer จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr.A.F.G.Kerr นายแพทย์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472 ดอกนี้ในประเทศไทยมีที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี

เส้นทางชมบัวผุดที่คลองศก

จากเส้นทางไปบัวผุด  ที่เลียบสายน้ำคลองศกขึ้นไปบางหัวแรด  จนกระทั่งมาถึงจุดทางแยกขวามือ เพื่อไปยังจุดที่มีบัวผุดอีกประมาณ 1.5 กม. หากรวมระยะทางจากที่ทำการมาเป็นระยะทาง 3.5 กม. แยกขวาขึ้นไปจะเป็นทางชันยาวจนลงมายังหุบเขาก็จะพบปาล์มหลังขาวและบัวผุดขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกันจุดบริเวณในอดีตเคยเป็นแหล่งบัวผุดที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ปัจจุบันก็ไม่พบบัวผุดบานที่จุดนี้อีกแล้ว คงเนื่องจากผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวกันเยอะๆ และทางอุทยานแห่งชาติเขาสกก็ได้ปิดเส้นทางสายนี้ เพื่อให้ธรรมชาติปรับฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งปกติที่เราพบดอกบัวผุดในบริเวณใด ก็จะพบอยู่หลายดอก ถ้ามีดอกหนึ่งบานเต็มที่ และจะดอกอื่นๆ มีลักษณะเป็นดอกตูม เพื่อรอผลิบานในช่วงถัดไป ดอกที่บานใหม่จะมีสีสันสดใส ผิวพรรณสีสันเป็นสีน้ำตาลแดงมีลายกระไปทั่วดอก โดยมีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ล้อมรอบใจกลางที่มีลักษณะคล้ายกระโถนและภายในรูปทรงกระโถนนั้นจะมีเกสรคล้ายกับเกสรดอกบัว

บัวผุด เป็นพันธุ์ไม้ที่แปลกชนิดหนึ่งของเมืองไทย ยังไม่มีใครค้นพบรากเหง้า หน่อ ลำต้นของบัวผุดอันเป็นที่มาของดอกได้เลย กล่าวกันว่า บัวผุด จัดเป็นจำพวกกาฝากที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากเถาองุ่นป่า หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ย่านไก่ต้ม”  ซึ่งเป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง ย่านไก่ต้มที่เลื้อยแทรกไปตามพื้นดินได้พบตุ่มดอกบัวผุดที่เพิ่งแตกเป็นตุ่มเล็กๆ รอวันที่เติบโต โดยอาศัยน้ำเลี้ยงจากย่านไก่ต้ม จนขยายรูปทรงคล้ายกับดอกกระหล่ำ แล้วจากนั้น ก็ผลิบานเป็นดอกขนาดใหญ่ เท่าที่สำรวจพบว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดวัดได้ 80 ซม. แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะมีขนาดความกว้างของดอกประมาณ 55-65 ซม. จึงได้กล่าวกันว่า “ดอกบัวผุด” เป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก


 


ใส่ความเห็น